มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมรณรงค์ชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ

มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมรณรงค์ชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ

มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมรณรงค์ชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ,โครงการ,เลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ,ภายใต้โครงการ “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา : เก็บขยะจากปากน้าโพถึงอ่าวไทย ปี 2” 10 จังหวัด 10 วัน ระหว่างวันที่ 1 – 10 ตุลาคม 2562

คณะกรรมการมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ [มปอ.] ร่วมงานแถลงข่าว “รณรงค์ชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ” ภายใต้โครงการ “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา : เก็บขยะจากปากน้าโพถึงอ่าวไทย ปี 2  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ไอคอนสยาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ภายในงานมี ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน ในฐานะผู้ริเริ่มและผู้บริหารโครงการ แถลงข่าวร่วมกับผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมมลพิษ สมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำ สมาคมเรือไทย และสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย


กิจกรรม “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา : เก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย" เป็นกิจกรรมการพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาใน 10 จังหวัดที่แม่น้ำไหลผ่าน เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไป ชุมชนริมน้ำ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้สัญจรทางน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง และสามารถจัดการกับขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง  โครงการนี้ ริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2561 โดยมี ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืนเป็นผู้บริหารโครงการ  กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กรมเจ้าท่า สมาคมกีฬาเรือพายแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

กิจกรรม “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา : เก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย ปี 2" จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1- 10 ตุลาคม 2562 รวม 10 วัน โดยอาสาสมัครจะพายเรือเก็บขยะในแม่น้าเจ้าพระยาตลอดระยะทาง 10 จังหวัด เริ่มต้นที่ปากน้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ และสิ้นสุดที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นระยะทางกว่า 349 กิโลเมตร สามารถเก็บขยะได้ทั้งสิ้น 3,215 กิโลกรัม แบ่งเป็นขยะทั่วไป 1,440 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิล 343 กิโลกรัม ขยะอินทรีย์ 196 กิโลกรัม และขยะอันตราย 76 กิโลกรัม โดยขยะที่พบมากที่สุด คือ ขยะพลาสติก ซึ่งถูกทิ้ง “โดยจงใจ” เพราะความ “ไม่ตระหนักรู้” ถึงผลกระทบนั่นเอง

 มปอ. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสรรค์สร้างสังคมที่น่าอยู่และปลอดภัยอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ไม่เพียงแต่การดื่มอย่าง “รู้เท่าทัน” และ “รับผิดชอบ” ต่อตน คนรอบข้าง และสังคม แต่รวมถึงการปลูกสำนึก “รักษ์สิ่งแวดล้อม” การลดการใช้ทรัพยากรและการรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงและรู้คุณค่า การจัดการกับขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ ความร่วมมือจากประชาชนทุกคน และหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาสังคมทุภภาคส่วนคือกุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการกับปัญหาปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม วิกฤติขยะในแม่น้ำลำคลองซึ่งไหลลงสู่ทะเลก่อความเสียหายต่อระบบนิเวศน์และการสูญเสียของสิ่งมีชีวิตทางน้ำในวงกว้างได้อย่างยั่งยืน

โครงการอื่นๆ